ONE BAR เหล็กเส้นมาตรฐานที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน





ONE BAR เหล็กเส้นของเสี่ยหมู มิลล์คอนนั้นเป็นเหล็กเส้นที่ได้รับมาตรฐาน มอก. เกรด SD40 , SD50 ที่สามารถใช้ในงานก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไป แต่ได้มีการพัฒนารูปร่าง โดยตัวบั้งข้ออ้อยให้มีลักษณะเป็นเกลียว และสามารถใส่ Coupler หมุนผ่านได้ตลอดทั้งเส้น

ปกติประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นอาคารหรืองานสาธารณูปโภคต่างๆ การก่อสร้างจะต้องใช้เหล็กเสริมแรงเป็นตัวยึดคอนกรีต โดยจะต้องมีการตัดและต่อเหล็กอยู่เป็นจำนวนมาก ในอดีตการต่อเหล็กจะต้องใช้
วิธีการทาบเหล็ก

วิธีการทาบเหล็ก


มี 2 แบบ คือการทาบแล้วผูกด้วยลวดผูกเหล็ก และการทาบแล้วเชื่อมโดยเครื่องเชื่อมไฟฟ้าหรือแก็ส ซึ่งรูปแบบการทาบของทั้ง 2 วิธี จะต้องใช้เหล็กจำนวนมาก เนื่องจากการทาบตามข้อกำหนดงานก่อสร้างนั้น เหล็กเส้นเสริมแรงสำหรับคอนกรีตจะต้องทาบด้วยความยาว 40 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลาง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทาบเหล็กสูงมาก เช่น ค่าลวดผูกเหล็ก ค่าลวดเชื่อม เสียค่าแก๊สในการเชื่อม ค่าแรงงานจ้างคนในการผูกลวด ค่าแรงงานเชื่อม และเสียความแข็งแรงของเหล็กที่รอยต่อ

โดยการต่อเหล็กเส้นในงานโครงสร้างจะใช้วิธีทาบเหล็กเป็นหลัก มีระยะในการทาบที่ 40D หรือ 50D แล้วใช้ลวดมัดหรือเชื่อมติดกัน ถ้าในโครงสร้างมีการเสริมเหล็กจำนวนมาก วิธีการทาบก็จะทำให้เหล็กเสริมในโครงสร้างที่จุดต่อแน่นมากยิ่งขึ้น ทำให้พื้นที่หน้าตัดคอนกรีต ลดน้อยลง การเทคอนกรีตก็จะลำบากมากขึ้นเพราะว่าเหล็กเสริมที่จะต่อแน่นมากขึ้น การเชื่อมเหล็กให้ติดกันด้วยความร้อนก็จะทำให้กำลังของเหล็กเสริมที่จุดต่อน้อยลง

จึงมีการแก้ไขแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้โดย วิธีการต่อเหล็กแบบเข้าเกลียว (Coupler) การต่อเหล็กแบบเข้าเกลียวนั้นเป็นการต่อชนกันเหมือน ใช้เป็นเหล็กเส้นเดียวกัน ไม่มีระยะทาบให้เสียเศษเหล็กมากเหมือนเก่า เพิ่มพื้นที่เทคอนกรีตที่จุดต่อ ทำให้หน้าตัดคอนกรีตที่จุดต่อเท่ากับการเสริมเหล็กปกติไม่มีการเคลื่อนตัว (Sliper) ของเหล็กเสริมที่จุดต่อจนเป็นสาเหตุที่จะทำให้คอนกรีตแตกร้าว เมื่อเกิดแรงสั่นสะเทือนมากระทบกับตัวโครงสร้าง

ประโยชน์ของ ONE BAR 


นั่นเป็นสาเหตุให้เกิดการพัฒนา ONE BAR ขึ้นมา เพื่อให้ตอบโจทย์ตามลักษณะการใช้งาน และประโยชน์ของการใช้เหล็กเกลียว ONE BAR นั้น ได้แก่

- ลดจำนวนการเสียหายจากการทาบต่อ

- ไม่ทำให้เกิดเศษเหล็กจากการตัด และการทำเกลียว

- สถาปนิกสามารถออกแบบให้โครงสร้างมีขนาดเล็กลงได้โดยมีความแข็งแรงเท่าเดิม

- ลดต้นทุนค่าเหล็กที่ใช้ในการก่อสร้างโดยรวม

- ลดค่าใช้จ่ายค่าขนส่งที่จะเกิดซ้ำซ้อนหลายครั้ง

- ลดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าไฟฟ้าเชื่อมเหล็ก ค่าเครนขนย้าย ในการดำเนินการ เป็นต้น

- ลดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถตัดต่อเหล็กได้ทันทีที่มีการแก้ไขแบบเสร็จ

- ลูกค้าสามารถลดต้นทุนในการก่อสร้างโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- มีความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดูด ช็อต สะเก็ดไฟ กลิ่นควัน
ของงานเชื่อมต่างๆ

- ไม่จำเป็นต้องใช้ช่างเทคนิค หรือใช้ฝีมือในการมาเชื่อมเหล็ก

- ไม่ต้องใช้พื้นที่หน้างาน เพื่อวางเครื่องจักรสำหรับทำเกลียว และไม่ต้องเสียเวลาหน้า
งานในการมาทำเกลียว

- ลดความแออัดของจำนวนคนงานในหน่วยงานและง่ายต่อการรักษาความปลอดภัย

ทั้งนี้ทั้งนั้นพอรู้ถึงประโยชน์ของ ONE BAR แล้ว แต่การที่จะเลือกบริโภคสินค้าได้นั้น เราต้องรู้ว่าจะสามารถตรวจสอบคุณภาพตัวสินค้าได้อย่างเรื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุที่ดีที่สุด

คุณภาพของเหล็ก


เหล็กเหมือนกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป แล้วเหล็กมีคุณภาพสามารถตรวจสอบได้อย่างไร คือ ต้องมีป้ายฉลากบอกรายละเอียดสินค้า เมื่อมีการผลิตเหล็กเส้นออกจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องติดป้ายที่เหล็กเพื่อบอกรายละเอียดที่เป็นข้อมูลสำคัญ ซึ่งได้แก่

1. บริษัทผู้ผลิต ประเภทสินค้า (Type)

2. เครื่องหมาย มอก.

3. ชั้นคุณภาพ (Grade)

4. วันเวลาที่ผลิต (Date/Time)

5. ขนาด(Size)

6. ความยาว (Length)





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รากฐานสำหรับงานก่อสร้าง คือเหล็กสำหรับงานโครงสร้าง

เหล็กหนวดกุ้ง กับเมมัลเสตรป ใช้อะไรป้องกันเสาแตกร้าวดีนะ

ทำไมต้องใช้กระบวนการผลิตเหล็กเตาหลอม EAF